Research Centre
for Social Return on Investment
ศูนย์วิจัยและพัฒนาเครื่องมือ
การประเมินผลตอบแทนทางสังคม (SROI TU)
วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
คลิกบนตัวเลือก "ชั้นหนังสือ” เพื่อไปสู่เป้าหมายของท่าน
SROI คือ
3 Tripple Bottom Line
Environment
Economy
Social
Social Return On Investment
การประเมินผลกระทบทางสังคมจากการลงทุน
แนวคิดในการวิเคราะห์ผลกระทบทางสังคมจากการลงทุน
ที่ช่วยตอบผลลัพธ์และผลกระทบ ที่เกิดจากการดำเนินงาน
ทางสังคมขององค์กรภาครัฐและเอกชน ให้ออกมาในรูปแบบ
ของมูลค่า หรือตัวเงิน จากการลงทุน หรืองบประมาณที่องค์กรได้ใช้ในโครงการว่า สร้างมูลค่าหรือกำไรให้แก่สังคมเท่าไหร่ ซึ่งพัฒนามาจากแนวคิดของ Cost Benefit Analysis (CBA)
ลงทุน 1 บาท ผลตอบแทนสังคมกลับมากี่...บาท?
สารจากคณบดี
การประเมินผล เป็นกระบวนการขั้นกว่าของการปฏิบัติการต่างๆ ในงานพัฒนาสังคม พัฒนาคุณภาพชีวิต เป้าหมายสำคัญของการประเมินผล นอกจากจะได้รู้ว่า ปฏิบัติการที่เราทำนั้น บรรลุ หรือไม่บรรลุเป้าหมายที่คาดหวัง มีกำไรทางสังคม หรือ ขาดทุนทางสังคม (ซึ่งก็อาจจะไม่ได้หมายความว่า ไม่เกิดผลกระทบอะไรเลย) แล้ว สิ่งที่น่าจะสำคัญไม่แพ้กัน คือ การได้รู้คำตอบที่ว่า เราจะทำอย่างไรให้การปฏิบัติการของเราในครั้งถัดๆไป ดีขึ้นกว่าครั้งที่แล้วได้อีก และจะทำอย่างไรจึงจะส่งผลกระทบทางบวกกับสังคมได้กว้างขวางมากไปกว่าเดิม ยิ่งเรารู้ว่ากระบวนการเปลี่ยนแปลง (how change happens?) ที่ทำให้เกิดผลลัพธ์ และผลกระทบเกิดได้อย่างไร เกิดจากปัจจัยเงื่อนไขอะไร เหล่านี้จะกลายเป็นความรู้ที่สำคัญมาก ที่เราจะสามารถนำไปขยายผลต่อได้ โดยเครื่องมือ SROI เป็นเครื่องมือที่สามารถให้คำตอบว่า สิ่งที่การนักปฏิบัติการพัฒนาดำเนินโครงการไป สามารถสร้างผลกระทบทางสังคมได้อย่างเป็นรูปธรรม
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วีรบูรณ์ วิสารทสกุล
คณบดี วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์
สารจากผู้อำนวยการศูนย์วิจัย
“ หัวใจสำคัญของการวิจัยด้านการประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (SROI) คือ การเลือกใช้ค่าแทนการเงิน (Financial proxy) ที่ตรงกับบริบทของพื้นที่จะประเมินฯ ซึ่งจากประสบการณ์ของวิทยาลัยที่สะสมองค์ความรู้ด้าน SROI มากว่า 7 ปี พบว่า บางบริบทไม่สามารถใช้บริบทโลกมาเทียบเคียงกับบริบทไทยได้ จำเป็นต้องอาศัยฐานข้อมูล (Database) งานวิจัยที่เกี่ยวข้องจำนวณมาก เพื่อให้เกิดการพัฒนาและยกระดับการศึกษาวิจัยด้าน SROI ในประเทศไทย เราจึงจำเป็นต้องเปิดเผยข้อมูลกระบวนการศึกษาวิจัย และเปิดเผยกระบวนการได้มาซึ่งค่าแทนการเงิน จึงนำมาซึ่งฐานข้อมูลนี้ หวังว่าฐานข้อมูลดังกล่าวจะช่วยให้เกิดการพัฒนาการศึกษา SROI ให้มีมาตรฐานต่อไปและเป็นที่ยอมรับระดับสากล “
เศรษฐภูมิ บัวทอง
ภาคีเครือข่าย
Contact Us